กดปุ่มลูกศร เพื่อเล่นเพลง





เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ น้ำมิกซ์เบอรี่ 25% ผสมสมุนไพรรวม ตรา บัดดี้เบอร์รี่
เลขสารบบอาหาร(อย.) : 74-2-02265-6-0001
ดื่มทุกวัน ดีทุกวัน...

ดีเจต่าย
email: wiruntarintv@gmail.com
ในยุคที่เราสามารถจ่ายเงินเพื่อซื้อตัวช่วยต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างง่ายดาย มีสิ่งหนึ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ทัศนคติต่อเรื่องสุขภาพของคนยุคนี้ ที่หลายคนมักจะต้องการสุขภาพที่ดีอย่างเห็นผลทันใจ เช่น อยากสุขภาพดีแต่ไม่อยากกินผัก จึงแก้ปัญหาด้วยการซื้อ “วิตามินเสริม” ต่างๆ มาใช้ทดแทนสารอาหารที่ควรจะได้รับจากมื้ออาหารปกติ
“วิตามิน” มีความสำคัญอย่างไรต่อร่างกาย
วิตามินเป็นสารอินทรีย์ที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับสารอาหารอื่นๆ แต่มีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายเพื่อให้กลไกต่างๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กระบวนการเผาผลาญอาหารเพื่อสร้างพลังงาน การเสริมสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโต การสร้างเม็ดเลือดแดง การแข็งตัวของเลือด การสร้างกระดูก การมองเห็น การทำงานของระบบประสาท และการสร้างภูมิต้านทานโรค เป็นต้น
ซึ่งร่างกายจะไม่สามารถสร้างวิตามินส่วนใหญ่ขึ้นมาได้เอง ยกเว้นวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินดี แต่ปริมาณที่สร้างได้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของร่างกายอยู่ดี จึงจำเป็นต้องบริโภคจากอาหาร เพื่อให้ได้รับวิตามินต่างๆ ในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน และถ้าหากได้รับวิตามินไม่เพียงพอ ติดต่อกันไปนานๆ ก็จะทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติขึ้นได้
แล้ว “วิตามินเสริม” มีความจำเป็นอย่างไร
วิตามินเสริมได้เข้ามามีบทบาทและเป็นตัวช่วยสำคัญในปัจจุบันนี้ เพราะเป็นตัวช่วยที่เหมาะสำหรับผู้ที่รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ จึงได้รับสารอาหาร ไม่ครบถ้วนและเพียงพอ หรือคนที่ไม่มีเวลาดูแลตัวเองมากนัก รวมถึงขาดการออกกำลังกายตามเหมาะสม รวมไปถึงคนบางกลุ่มที่อยู่ในภาวะพร่องโภชนาการ เช่น สตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร สตรีที่รอบเดือนมามากผิดปกติ คนชราที่พิการหรือมีโรคประจำตัว คนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ หรือคนที่รับประทานอาหารแคลอรี่ต่ำมากๆ ผู้ป่วยบางโรค รวมไปถึงคนที่มีอาการแพ้อาหารบางประเภท เพราะฉะนั้นต้องสำรวจตัวเองก่อนว่ามีความจำเป็น ที่จะต้องรับประทานวิตามินเสริมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าอยากรู้ว่าเราอยู่ในภาวะที่ต้องใช้วิตามินเสริมหรือไม่ ก็ควรที่จะลองปรึกษากับโภชนากร เพราะจะมีการประเมินจากพฤติกรรมการกินและวิถีการใช้ชีวิต แล้วจึงสรุปออกมาว่า เราจำเป็นที่จะต้องเสริมวิตามินต่างๆ หรือไม่
เพราะถึงแม้ว่า “การรับประทานวิตามิน” จะช่วยเข้าไปเสริมสร้างส่วนที่ขาดหายไป แต่การรับประทานวิตามินโดยขาดความรู้หรือรับเข้าไปใน ปริมาณที่มากเกินความต้องการ นอกจากจะทำให้ไม่ได้รับประโยชน์อย่างที่ควรจะเป็นแล้ว ยังอาจจะกลายเป็นผลเสียต่อร่ายกายแทนที่อีกด้วย
สารโภชนบำบัด
สารโภชนบำบัด(Nutraceutical) อาจจัดได้ว่าเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดสำหรับการแพทย์สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน ในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา มันคือสารที่สกัดจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ(อาหารหรือบางส่วนของอาหาร) ที่มีผลในการรักษาโรคต่างๆ ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ได้ผลไม่ต่างจากยา เช่น ไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง ไฮเพอริคัมและพอลิฟินอลในเซนต์จอห์นส์วอร์ต(สมุนไพรชนิดหนึ่ง ตามรูปภาพด้านล่าง)



ซึ่งมีคุณสมบัติในการแก้อาการซึมเศร้า สารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเหล่านี้ สกัดจากพืช สาหร่ายและแหล่งทางชีวภาพิอื่นๆ แล้วถูกนำมาทำให้เข้มข้นขึ้น แปรรูปเป็นเม็ดอัด ผง หรือแคปซูล และทุกวันนี้ได้ใช้ในการป้องกันโรคต่างๆตลอดจนใช้รักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยทั่วไป ซึ่งเดิมเคยมีแต่เพียงยาแผนปัจจุบัน ตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ยาต้านอาการซึมเศร้าอย่างแพ็กซิลและโปรแซก ซึ่งอยู่ในกลุ่ม SSRIs(Selective Serotonin Reuptake Inhibitors) หรือยาต้านซึมเศร้าเอสเอสอาร์ไอ เป็นกลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้าที่ออกฤทธิ์ช่วยเพิ่มระดับสารเซโรโทนินในสมอง เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยและมักไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้าชนิดอื่น โดยนำมาใช้บรรเทาอาการซึมเศร้า หรืออาจใช้รักษาโรคอื่น ๆ เช่น โรควิตกกังวล โรคแพนิค และภาวะไฟโบมัยอัลเจีย เป็นต้น พบว่ามีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับสารโภชนบำบัดอย่าง 5-HTP (5-Hydroxytryptophan) คือสารเคมีที่เป็นผลพลอยได้จากโปรตีนหน่วยโครงสร้าง (building block) ของ L-tryptophan สารเคมีชนิด นี้ยังผลิตขึ้นมาเชิงพาณิชย์จากเมล็ดพืชสายพันธ์ุแอฟริกาที่ชื่อว่า Griffonia simplicifolia 5-HTP ที่ถูกใช้ในการรักษาภาวะการนอนผิดปรกติต่าง ๆ เช่นภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia), ภาวะซึมเศร้า (Depression), ภาวะวิตกกังวล (Anxiety), ปวดไมเกรน (Migraine), และภาวะปวดศีรษะ จากความเครียด (Tension-type headache), ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia), โรคอ้วน (Obesity), อาการก่อนมีประจำเดือน Premenstrual Syndrome (PMS), กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual dysphoric disorder (PMDD)), โรคสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder หรือ ADHD), และโรคพากินสัน (Parkinson's disease)
ปัจจุบันมีอาหารที่เติมสารโภชนบำบัดจากพืช เช่น ขนมขบเคี้ยวเติมสารพฤกษเคมีจากถั่วเหลือง(ไฟโตเอสโทรเจน) เพื่อบรรเทาอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงวัยทอง และเพื่อป้องกันปัญหาต่อมลูกหมากในผู้ชาย มาร์การีนที่เติมสารโภชนบำบัดจากพืชสำหรับเด็กที่ไม่ยอมบริโภคผัก มีทางเลือกใหม่ๆมากมายในทุวันนี้ที่คุณจะเลือก สรรเพื่อเติมเต็มให้สุขภาพของคุณ