สาระเพื่อสุขภาพที่ดี

ควรรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือไม่

วิตามินพบได้ในอาหารจากธรรมชาติทุกชนิด อาหารบางอย่างมีวิตามินไม่เท่ากัน หากรับประทานอาหารที่ถูกต้องครบทุกหมู่ในปริมาณที่สมดุล ก็จะได้รับวิตามินครบถ้วนตามที่ต้องการ คำกล่าวนี้อาจจริงหรือไม่ เพราะจะมีสักกี่คนที่สามารถรับประทานอาหารในฝันแบบนั้นได้ตลอด นายแพทย์แดเนียล ที. ควิกลีย์ ผู้เขียนหนังสือ The National Malnutrition(ภาวะทุพโภชนาการแห่งชาติ) กล่าวไว้ว่า "ทุกคน ที่เคยรับประทานน้ำตาลที่ผ่านกระบวนการอุตสาหกรรม แป้งขัดขาว หรืออาหารกระป๋อง ล้วนมีภาวะขาดสารอาหารบ้างไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับ ปริมาณของอาหารด้อยคุณค่าเหล่านี้ที่รับประทานเข้าไป" ยิ่งไปกว่านั้น ในวารสารของสมาคมแพทย์อเมริกา ฉบับเดือนตุลาคม 2002 ได้รายงานผลการศึกษาวิจัยซึ่งระบุว่าผู้ใหญ่ทุกคนควรรับประทานวิตามินอย่างหลากหลาย เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะได้รับสารอาหาร ที่ต้องการครบถ้วนจากอาหารที่เรารับประทานในแต่ละวัน

ด้วยเหตุที่ร้านอาหารส่วนใหญ่มักจะอุ่นอาหารซ้ำ หรือตั้งอาหารไว้ใต้แสงไฟเพื่อให้อาหารอุ่น หากคุณรับประทานอาหารนอกบ้านบ่อยๆ หรือซื้อ อาหารกลับมารับประทานที่บ้านเป็นประจำ คุณมีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินเอ บี 1 และซี และเนื่องจากอาหารจำนวนมากผ่านกระบวนการ แปรรูปหรือการดัดแปลงทางพันธุกรรม(ร้อยละ 75 ของอาหารในซุปเปอร์มาร์เก็ต ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรม) จึงพบภาวะขาด แคลเซียม กรดโฟลิก และแมกนีเซียมเพิ่มขึ้นมา (และหากคุณเป็นผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 13-40 ปี การรับประทานอาหารแบบเน้นสะดวก ไว้ก่อนเช่นนี้ อาจทำให้คุณต้องจ่ายค่าความสะดวกเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการสร้างกระดูกอย่างแคลเซียมและธาตุเหล็กโดยไม่รู้ตัว)

อาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปจะมีสารอาหารต่ำ ยกตัวอย่างเช่น ขนมปังและซีเรียล อาหารเกือบทั้งหมดที่คุณหาได้ในซุปเปอร์มาร์เก็ตทุกวันนี้ ไม่มีสารอาหารใดๆสูงเลยนอกจากแป้ง แต่คุณอาจจะบอกว่า "พวกมันได้ผ่านกระบวนการเติมสารอาหารแล้ว!" เพราะคุณได้เห็นคำว่า "enriched" เขียนไว้ที่ฉลาก

กระบวนการเสริมโภชนาการ หรือ enrichment หมายถึง การเติมสารอาหารที่เดิมมีอยู่ในอาหารนั้นๆอยู่แล้ว แต่เพราะการผ่านความร้อน การเก็บรักษา และอีกหลายกระบวนการจนสารอาหารนั้นหายไป ดังนั้น มันจึงถูก"เสริมโภชนาการ"จนมีสารอาหารเทียบเท่ากับระดับที่มีในธรรมชาติก่อนที่จะ ผ่านกระบวนการผลิต แต่โชคร้ายไปหน่อยที่มาตรฐานของการเสริมโภชนาการยังไม่สามารถเติมเต็มความต้องการทางโภชนาการได้ ตัวอย่างเช่น มาตรฐานของการเสริมโภชนาการสำหรับแป้งขัดขาว คือการทดแทนสารอาหารธรรมชาติ 22 ชนิดที่สูญสลายไปด้วยการเสริมวิตามินบีสามชนิด วิตามินดี แคลเซียมและธาตุเหล็ก แท้จริงแล้วสำหรับสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตทั้งหมดนั้น สารเพียงไม่กี่ชนิดนี้จัดได้ว่าอ่อนด้อยมาก

สารอาหารคืออะไร

มีอีกหลายสิ่งหลายอย่างมากกว่าวิตามิน แม้คนจะชอบคิดว่าสารอาหารคือวิตามินเท่านั้น คาร์ดบไฮเดรต โปรตีน(ซึ่งมีกรดแอมิโนเป็นหน่วยก่อสร้างโครงสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน) ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำ ล้วนจัดเป็นสารอาหารทั้งสิ้น

สารอาหารเป็นส่วนของอาหารที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพที่แข็งแรง สารอาหารมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อพลังงาน การทำงานของอวัยวะต่างๆ การเผาผลาญอาหาร และการเจริญเติบโตของเซลล์

ข้อแตกต่างระหว่างสารอาหารหลักกับสารอาหารรอง

สารอาหารรอง(Micronutrients) เช่น วิตามินและเกลือแร่ ไม่ได้เป็นตัวที่ให้พลังงานกับเราโดยตรง แต่สารอาหารหลัก(Macronutrients) เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน เป็นตัวที่ให้พลังงาน เพียงแต่จะให้พลังงานก็ต่อเมื่อมีสารอาหารรองในปริมาณเพียงพอที่จะให้มันทำงานได้

ปริมาณของสารอาหารรองและสารอาหารหลักที่คุณต้องการเพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีนั้นแตกต่างกันมาก แต่ต่างก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

ไมโครนิวเทรียนท์ (Micronutrient) คืออะไร

คือวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณที่น้อยมาก ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกายแต่ขาดไม่ได้ เพราะจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย และอาจส่งผลร้ายแรงถึง ขึ้นเสียชีวิตได้

ทำไมเราถึงต้องให้ความสำคัญกับระดับไมโครนิวเทรียนท์ในเลือด

เพราะวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ทำหน้าที่หลากหลาย รวมถึงการช่วยให้ร่างกายผลิตเอนไซม์ ฮอร์โมน และสารอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการการพัฒนาตามปกติของร่างกาย

ไมโครนิวเทรียนท์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ไมโครนิวเทรียนท์ ที่ควรได้รับการตรวจเพื่อนำมาปรับโภชนาการมีดังนี้

Beta-Crytoxanthin | Lycopene | Alpha-Carotene | Beta – Carotene | Coenzyme Q10 | Vitamin A (Retinol) | Vitamin E (Gamma -Tocopherol) | Vitamin E (Alpha -Tocopherol) | Lutein+Zeaxanthin | Magnesium | Vitamin B12 | Folate | Ferritin | Vitamin D2/D3

ประโยชน์ของวิตามินและแร่ธาตุแต่ละตัว

Beta-Crytoxanthin อยู่ในกลุ่มของแคโรทีนอยด์ เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ เป็นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงและป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระสามารถทำลายเซลล์และ DNA ได้ และช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งปอดและมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบมากในส้มแมนดาริน ลูกพลับ ส้ม มะละกอ ฟักทอง และพริกหวานสีแดง

Lycopene เป็นสารอาหารจากพืชที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ พบในผลไม้สีแดงและชมพู เช่น มะเขือเทศ แตงโม และเกรปฟรุตสีชมพู ซึ่งเป็นสีที่มีลักษณะเฉพาะ มีประโยชน์ต่อสุขภาพตั้งแต่หัวใจไปจนถึงการป้องกันผิวไหม้จากแดดและมะเร็งบางชนิด

Alpha-Carotene สารตั้งต้นของวิตามินเอ มีฤทธิ์ที่แรงกว่าเบต้าแคโรทีน พบในผักและผลไม้ ที่มีสีเหลือง สีส้ม สีแดง และสีเขียวเข้ม ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต่อสู้กับการอักเสบที่เกิดจากการเกิดออกซิเดชันซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอัลฟา-แคโรทีนจะมีความคล้ายคลึงกันทางเคมีกับเบตา-แคโรทีน แต่การศึกษาหลายการศึกษาก็แสดงให้เห็นว่าอัลฟา-แคโรทีนมีประสิทธิภาพมากกว่าในการลดอัตราการเสียชีวิตของมะเร็งบางชนิด (ปอด ต่อมลูกหมาก ตับ ฯลฯ) และลดความ เสี่ยงของการเกิดมะเร็ง การเสียชีวิตจากหลอดเลือดหัวใจ การวิจัยในหัวข้อนี้มีแนวโน้มว่ายิ่งความเข้มข้นของอัลฟาแคโรทีนในเลือดสูงเท่าใด ความเสี่ยงของการเสียชีวิต จากทุกสาเหตุก็จะลดลง

Beta- Carotene เป็นสารประกอบที่ให้สีเหลือง สีส้ม และสีแดงสดใสแก่ผัก ร่างกายจะเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนเป็นวิตามินเอ ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญในการมองเห็น มีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโตของเซลล์และในการรักษาอวัยวะที่แข็งแรง เช่น หัวใจ ปอด และไต เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเยี่ยมต่อดวงตาและผิวหนัง

Coenzyme Q10 ช่วยให้เซลล์สร้างพลังงาน บำรุงหัวใจและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดความถี่ในการเป็นไมเกรน นอกจากนี้ยังสามารถ ลดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า ผิวหนังถูกทำลาย และโรคทางสมองและปอด

Vitamin A (Retinol) วิตามินเอเป็นกุญแจสำคัญในการมองเห็นที่ดี ช่วยการมองเห็นในที่แสงสลัว เสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ป้องกันการเจ็บป่วย ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ รักษาผิวหนังและเยื่อบุของร่างกายให้แข็งแรง

Vitamin E (Gamma -Tocopherol) มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต่อต้านริ้วรอย ป้องกันมะเร็ง โรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ และการเสื่อมลงตามอายุ

Vitamin E (Alpha -Tocopherol) ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ การไหลเวียนโลหิต ภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ผิวสุขภาพดี

Lutein+Zeaxanthin ช่วยปกป้องดวงตาจากคลื่นแสงพลังงานสูงที่เป็นอันตราย เช่น รังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดด จากการศึกษาพบว่าหากมี 2 ค่านี้อยู่ในระดับสูง จะสัมพันธ์กับการมองเห็นที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแสงสลัวหรือในที่แสงจ้า

Magnesium แมกนีเซียมมีความสำคัญต่อกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย ช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานเป็นปกติ รักษาระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และช่วยให้ร่างกายสร้างโปรตีน กระดูก และดีเอ็นเอ การขาดแมกนีเซียมมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยล้า และอ่อนแรง การขาดแมกนีเซียมอย่างรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการชา ปวดกล้ามเนื้อ ชัก หัวใจเต้นผิดปกติได้ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดัน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เบาหวานชนิดที่ 2 โรคกระดูกพรุน และไมเกรน

Vitamin B12 เป็นวิตามินสำคัญที่ช่วยการทำงานของร่างกายหลายอย่าง ช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและ DNA ที่แข็งแรง ช่วยการทำงานของสมอง หากขาดวิตามินบี 12 อาจส่งผลต่อความจำและความรู้ความเข้าใจได้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มระดับพลังงาน ลดความอ่อนแรง เหนื่อยล้า ป้องกันการเสื่อมของตา ลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคซึมเศร้า ความเสี่ยงในการขาดวิตามินบี 12 จะเพิ่มขึ้นหากเป็นผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ (รับประทานมังสวิรัติ)

Folate เป็นวิตามินบีที่จำเป็นต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูก สร้าง DNA และ RNA และเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เป็นพลังงาน การมีโฟเลตในปริมาณที่เพียงพอมีความสำคัญเป็นพิเศษในช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การตั้งครรภ์ วัยทารก และวัยรุ่น ในผู้ใหญ่ทั่วไปก็มีความสำคัญ ไม่แพ้กันโดยเฉพาะในการบำรุงเลือด

Ferritin เพื่อตรวจดูภาวะโลหิตจาง ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดออกซิเจนในเลือด สามารถแสดงว่าร่างกายมีธาตุเหล็กมากเกินไปหรือน้อยเกินไป หรือใช้เพื่อวินิจฉัยโรคอื่นๆ ได้

Vitamin D2/D3 วิตามิน D2 และ D3 เป็นวิตามินดีสองรูปแบบหลัก วิตามิน D2 มีอยู่ในพืชและยีสต์ ในขณะที่ D3 มาจากสัตว์ วิตามินดีเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการทำงานของร่างกาย เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ และภูมิคุ้มกัน ร่างกายมนุษย์สามารถผลิตวิตามินดีได้เมื่อโดนแสงแดด อย่างไรก็ตาม บางคนอาจจำเป็นต้อง เพิ่มวิตามินดีโดยการบริโภคอาหารหรือวิตามินเสริมบางอย่าง วิตามินดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพ มีบทบาทสำคัญในการรักษามวลกระดูก ระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน เราสามารถรับวิตามินดีได้จากแสงแดด อาหาร หรือวิตามินเสริม

ทำไมเราถึงควรตรวจ Micronutrient Profile

การขาดสารอาหารไมโครนิวเทรียนท์ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

การขาดสารอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพที่อันตรายได้ โดยสามารถนำไปสู่ผลกระทบต่อความสามารถโดยรวม อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และเพิ่มความเสี่ยงจากโรคและสภาวะปัญหาสุขภาพอื่นๆ

เราสามารถป้องกันการขาดสารอาหารเหล่านี้ได้จากความรู้ด้านโภชนาการที่ถูกต้องและการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่หลากหลาย รวมถึงการรับประทานอาหารเสริม ในกรณีที่จำเป็น ซึ่งปริมาณความต้องการของไมโครนิวเทรียนท์ แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล

ใครบ้างที่เหมาะกับการตรวจ Micronutrient Profile

การตรวจไมโครนิวเทรียนท์เหมาะสำหรับ

* ผู้ที่มีภาวะปกติที่อยากดูแลสุขภาพ ภาวะโภชนาการเป็นรากฐานของสุขภาพ การตรวจสอบและแก้ไขภาวะขาดสารอาหารเป็นขั้นตอนสำคัญในการรักษาสุขภาพที่ดีในระยะยาว

* ผู้ที่มีภาวะผิดปกติ ที่อาจเกิดจากการขาดไมโครนิวเทรียนท์ ซึ่งอาจพบว่าทำให้เกิด โรคเบาหวาน อาการเหนื่อยล้า อารมณ์ผิดปกติ ควบคุมน้ำหนักได้ไม่ดี โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด ปวดไมเกรน ไม่สามารถอดทนต่อความเครียด มีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นต้น


ร่างกายมนุษย์มีเซลล์ 37.2 ล้านล้านเซลล์ เซลล์เหล่านี้ตายลงวันละ 60,000 ล้านเซลล์ ดังนั้น ร่างกายจึงจำเป็นต้องสร้างเซลล์ใหม่ในจำนวนเท่ากันทุกวันเพื่อทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป เมื่อใดที่การสร้างเซลล์ใหม่ลดน้อยลง ชีวิตก็จะเข้าสู่วัยชรา และวันใดที่การสร้างเซลล์ใหม่ยุติลง นั่นก็หมายถึงการสิ้นสุดของชีวิตด้วยเช่นกัน


สารอาหารหลัก (Macronutrient)

Macronutrients

เป็นกลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน

โปรตีน...ก้อนอิฐของบ้านทุกหลัง โปรตีน แปลว่า สิ่งแรกที่สำคัญ มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับชีวิต เป็นสารอินทรีย์ซับซ้อนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 20 ชนิด แบ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็น (Indispensable Amino Acid) 8-9 ชนิด และกรดอะมิโนไม่จำเป็น (Dispensable Amino Acid) 11-12 ชนิด หน้าที่หลักของกรดอะมิโนคือสร้างโปรตีนเพื่อใช้เป็นโมเลกุลโครงสร้างและโมเลกุลทำงานในร่างกาย กรดอะมิโนจำเป็นบางตัวเป็นกรดอะมิโนจำกัด (Limiting Amino Acid) ที่อาจไม่มีในอาหารบางชนิดและหากร่างกายไม่ได้รับก็จะทำให้การผลิตโปรตีนที่เกิดขึ้นได้อย่างจำกัด

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน...แหล่งพลังงานดี แน่นอนว่า ร่างกายคนเรา ต้องการพลังงานจากสารอาหารที่มีองค์ประกอบของคาร์บอน โดยเฉพาะ คาร์โบไฮเดรต ซึ่งควรเลือกกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนไม่ผ่านการขัดสีที่มีค่า GI หรือค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ และแปลงเป็นพลังงานให้ร่างกาย ได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน ตัวอย่างเช่น ข้าวไรซ์เบอร์รี, ธัญพืช, มันเทศ, เผือก เป็นต้น

วิตามินและเกลือแร่...ปูนที่เชื่อมก้อนอิฐ วิตามินและเกลือแร่ เปรียบเสมือนปูนที่ยึดเหนี่ยวก้อนอิฐหลายๆ ก้อนเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรงมากยิ่งขึ้น เป็นส่วนเสริมระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะวิตามินกลุ่มที่ละลายในไขมันจะไม่สามารถละลายในเลือดได้อย่างอิสระ จึงจำเป็นต้องใช้โปรตีนเป็นตัวขนส่งไปยังจุดต่างๆ ในร่างกาย


เมื่อวิตามินกลุ่มนี้จับกับโปรตีน จะทำให้เกิดเป็นคอมเพล็กซ์ที่เหนี่ยวนำให้เกิดกลไกของปฏิกิริยาร่างกายอื่นๆ ตามมา ขณะเดียวกันวิตามินกลุ่มที่ละลายน้ำก็ต้องการโปรตีน ทำงานเพื่อช่วยขนส่งผ่านเมมเบรน และทำหน้าที่ในปฏิกิริยาต่างๆ เช่นกัน การขาดสารกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งย่อมนำไปสู่ปัญหาสุขภาพและทำให้เกิดโรคได้

ไฟโตนิวเทรียนท์...สีทาบ้านที่ช่วยปกป้อง สารไฟโตนิวเทรียนท์ คือ สารอินทรีย์ตัวเล็กๆ ที่พืชสร้างขึ้น มีจำนวนมากมายขึ้นอยู่กับพืชแต่ละชนิด เปรียบได้กับสีทาบ้านและน้ำยาเคลือบที่ช่วยปกป้องคุ้มกันความแข็งแกร่งของอิฐและปูนจากสภาพแวดล้อม เป็นส่วนช่วยในการภูมิคุ้มกันมลพิษต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยรอบ


สารอินทรีย์เหล่านี้ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ การบริโภคผักผลไม้อย่างหลากหลาย ต่างสี กลิ่น และรส ช่วยให้ได้รับสารไฟโตนิวเทรียนท์หลากหลายชนิด ที่จะเข้าไปร่วมทำงานกับโปรตีน ตัวอย่างเช่น ขมิ้นชัน (Curcumin) เรสเวอราทรอล (Resveratrol) เควอซิทิน (Quercetin) และไอโซไธโอไซยาเนต (Isothiocyanates) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของโปรตีนหลายชนิด ช่วยให้โปรตีนทำงานทำหน้าที่ป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

กรดไขมันโอเมก้า-3…ระบบไฟฟ้า-ประปาอำนวยความสะดวก กรดไขมันโอเมก้า-3 เปรียบได้กับระบบไฟฟ้าและระบบประปาในร่างกาย ทำหน้าที่ส่งเสริม การทำงานของโปรตีนให้มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันกรดอะมิโนจากโปรตีนก็ช่วยส่งเสริมการทำงานของกรดไขมันโอเมก้า-3 หรือต่างฝ่ายต่างส่งเสริมซึ่งกันและกัน ในลักษณะทวีคูณ ดังนี้

* ลดความเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว กรดไขมันโอเมก้า-3 ส่งผลให้การสังเคราะห์โปรตีน CRP (C-Reactive Protein) ซึ่งเป็นสารบ่งชี้อาการอักเสบในผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือดลดลง จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้

* ป้องกันการสูญเสียโปรตีน การเสริมกรดไขมันโอเมก้า-3 ในคนสูงอายุจะช่วยให้การสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันโรคหลายชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียโปรตีนในผู้สูงอายุ

* เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ การเสริมกรดไขมันโอเมก้า-3 ให้ผลดีต่อนักกีฬาที่ต้องการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ เนื่องจากพบว่ากรดไขมันชนิดนี้เร่งการสร้างกล้ามเนื้อในนักกีฬาได้


ดังนั้น การรับประทานสารอาหารให้ครบถ้วนในแต่ละมื้อ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่สุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน


Micronutrients-vitamins
Micronutrients-minerals