สาระเพื่อสุขภาพที่ดี

ตามหาไขมันดี



มีเรื่องชวนให้สับสนมากมายเกี่ยวกับไขมันดีและไขมันไม่ดี ต่อไปนี้คือรายชื่อไขมันเพื่อสุขภาพ

  1. น้ำมันคาโนลา (Canola Oil) แหล่งของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวชั้นเยี่ยม ช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี และลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  2. น้ำมันโบราจ (Borage Oil) มีจีแอลเอ (GLA กรดแกมมาไลโนเลนิก) ช่วยลดการอักเสบและอาการปวดในโรคข้ออักเสบ ช่วยเสริมความแข็งแรงของต่อมหมวกไต อาจช่วยให้ประจำเดือนเป็นปกติ และลดอาการก่อนมีประจำเดือนได้
  3. น้ำมันมะกอก (Olive Oil) มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง ช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ(เลือกเป็นน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์กลั่นเย็น หรือ Extra-virgin cold-pressed) เพื่อใช้ในการประกอบอาหาร
  4. น้ำมันเมล็ดฟักทอง (Pumpkin Seed Oil) มีกรดไขมันโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 สูง ช่วยระบบย่อยอาหาร การไหลเวียนของเลือด ให้ผลดีสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
  5. น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed Oil) หนึ่งในแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่ดีที่สุดอาจมีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็ง ลดการอักเสบ และช่วยปรับสมดุล ให้ฮอร์โมนในร่างกาย
  6. น้ำมันอีฟนิงพริมโรส (Evening primrose oil) กรดไขมันจำเป็นอีกตัวหนึ่งที่มีจีแอลเอ สามารถเป็นสารคล้ายฮอร์โมน ช่วยในการรักษาอาการก่อนมีประจำเดือน ช่วยให้ผิวมีสุขภาพดี ลดระดับคอเลสตอรอล และควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ
  7. ตัวอย่าง 7 น้ำมันพืชยอดนิยมและวิธีใช้ประกอบอาหารที่เหมาะสม

  8. น้ำมันปาล์ม: มีจุดเดือดค่อนข้างสูง สามารถใช้กับไฟแรงที่อุณหภูมิสูงถึง 230°C ก่อนจะเกิดควัน เหมาะสำหรับการผัด ทอด ปิ้ง และย่าง
  9. น้ำมันถั่วเหลือง: มีจุดเดือดค่อนข้างสูง สามารถใช้กับไฟแรงที่อุณหภูมิสูงถึง 230°C ก่อนจะเกิดควัน เหมาะสำหรับการผัด ทอด ปิ้ง และย่าง รวมถึงนำไปใช้การการอบขนมก็ทำได้
  10. น้ำมันมะกอก: มีจุดเดือดปานกลาง สามารถใช้กับไฟแรงที่อุณหภูมิสูงประมาณ 190–207°C ก่อนจะเกิดควันฉะนั้นจึงสามารถนำไปใช้กับการทอดบนกระทะ แต่ไม่ควรใช้เป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังนำไปราดบนสลัด หมักเนื้อ หรือทำซอสก็อร่อยหมด
  11. น้ำมันรำข้าว: มีจุดเดือดสูง สามารถใช้กับไฟแรงที่อุณหภูมิสูงถึง 260°C ก่อนจะเกิดควัน เหมาะสำหรับการทอดแบบน้ำมันท่วม (Deep Frying) ทอดแบบธรรมดา ผัด ปิ้ง และย่าง /li>
  12. น้ำมันดอกทานตะวัน: มีจุดเดือดปานกลาง สามารถใช้กับไฟแรงที่อุณหภูมิสูงถึง 225°C ก่อนจะเกิดควัน ไม่สามารถทอดแบบน้ำมันท่วมเหมือนน้ำมันรำข้าวเพราะถ้าโดนไฟแรง เป็นระยะเวลานานสามารถสร้างสารก่อมะเร็ง เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ยังสามารถนำไปผัดไฟแรงได้
  13. น้ำมันงา: มีจุดเดือดต่ำ สามารถใช้กับไฟแรงที่อุณหภูมิสูงประมาณ 175-210°C ก่อนจะเกิดควัน เหมาะกับการใช้ทำอาหารที่ไม่ต้องใช้ไฟแรง เช่น การผัดหรือจี่ หรือจะใช้ใส่อาหารหลังจากที่ปรุงเสร็จแล้วเพื่อเพิ่มรสชาติและความหอม ก็ได้เหมือนกัน
  14. น้ำมันมะพร้าว: มีจุดเดือดต่ำ สามารถใช้กับไฟแรงที่อุณหภูมิสูงประมาณ 175°C ก่อนจะเกิดควัน เหมาะกับการใช้ทำอาหารที่ไม่ต้องใช้ไฟแรง เช่น การผัด ปิ้ง และย่าง รวมถึงนำไปใช้การการอบขนมก็ทำได้

แหล่งอ้างอิง : ข้อ 1-7 จากหนังสือวิตามินไบเบิล (ดร.เอิร์ล มินเดลล์)